วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการปฏิบัติ

รูปแบบการปฏิบัติแบบภาวนา “พุทโธ” มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
                ผู้ปฏิบัติพึงกำหนดคำว่า พุทธควบคู่ไปกับลมหายใจเข้า และกำหนดคำว่า โธ” ในขณะลมหายใจออก โดยสำรวมจิตให้อยู่ที่คำภาวนา พุทโธ” ที่เดียว จนจิตสงบนิ่งทำให้คำภาวนา พุทโธ หายไป จากนั้นใจก็จะพบกับความรู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ  คือ ผู้รู้แต่พุทโธ อย่างเดียว

สติปัฏฐาน

                  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติ และให้ใช้สติ  พิจารณาหรือสังเกตกาย หรือตามดูรู้เท่าทันตามจริงปฏิกิริยาของกายหรือที่เรียนกว่า สังขารกาย ถือว่าเป็นการฝึกสติขั้นแรกโดยใช้สติพิจารณาไปในกาย เช่น ฝึกมีสติดูลมหายใจเข้าออก  ฝึกมีสติดูอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน  ฝึกมีสติดูความเคลื่อนไหวต่างๆ  ฝึกมีสติพิจารณาส่วนประกอบของร่างกายจากแหล่งที่มา  ฝึกมีสติพิจารณาการประกอบรวมกันของร่างกาย  ฝึกมีสติพิจารณาความเสื่อมสลายของร่างกายส่วนต่างๆ   ผู้สนใจปฏิบัติพึงสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้



                 เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติ และให้ใช้สติ  พิจารณาหรือสังเกต การรู้เท่าทันเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่ตั้งอยู่ที่ดับไปว่าเป็นความรู้สึกที่เป็นสุข ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ความรู้สึกที่เฉย พิจารณาสังเกตดูว่าความรู้สึกเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งเร้าหรืออามิส(เจือด้วยกิเลส) หรือไม่มีสิ่งเร้า(เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ)    ผู้สนใจปฏิบัติพึงสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้



                   จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติและให้ใช้สติ  พิจารณาหรือสังเกต การรู้เท่าทันจิตหรือความคิด(จิตสังขาร) หรือ อาการของจิต(เจตสิก)ว่าขณะนี้มีราคะหรือไม่มีราคะ(ความกำหนัดยินดี)  มีโทสะหรือไม่มีโทสะ(โกรธหรือไม่พอใจ)  มีโมหะหรือไม่มีโมหะ(หลง งมงาย) จิตหดหู่เศร้าหมอง จิตคิดฟุ้งซ่าน(คิดไปในเรื่องต่างๆ) จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ  ทั้งให้มีสติรู้ชัดตามที่มันเป็นในขณะนั้น           ผู้สนใจปฏิบัติพึงสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้


                 ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการฝึกสติและให้ใช้สติ  พิจารณารู้ธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง โดยอาศัยธรรมเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการรู้ ระลึก พิจารณา เตือนสติเพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาเพื่อความดับทุกข์  ธรรมดังกล่าวได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔
                ทั้งนี้ บุคคลผู้จะมีสติพิจารณารู้ธรรมเหล่านี้ตามสภาพจริงได้นั้น ต้องผ่านการฝึกสติและใช้สติพิจารณารู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต มาเป็นอย่างดีแล้ว จึงจะเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านี้อย่างถ่องแท้ได้   ผู้สนใจปฏิบัติพึงสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้